Home » Benchmarking: ทางลัดสู่ความเป็นเลิศ
ดร.บุญดี บุญญากิจ ที่ปรึกษา ทริส คอร์ปอเรชั่น
ในยุค Globalization ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างผลิกโฉม (Disruption) เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา สุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ก็ยังคงสามารถนำมาใช้เป็นหลักคิดที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและชนะคู่แข่งได้รวมทั้งอาจนำไปสู่ความเป็นเลิศได้ ทั้งนี้เพราะการ “รู้เขา” คือการรู้ว่าคู่แข่งเป็นใครและมีศักภาพแค่ไหน และองค์กรที่เก่ง (ที่สุด) มี performance ในระดับใด การ “รู้เรา” คือการรู้ว่าองค์กรของเรามีศักยภาพเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับคู่แข่งหรือองค์กรที่เก่ง (ที่สุด)
Benchmarking เป็นเครื่องมือปรับปรุงองค์กรที่ทำให้ “รู้เขาและรู้เรา” ได้ เพราะการทำ Benchmarking ช่วยให้องค์กรตอบคำถามได้ว่าขณะนี้องค์กรเราเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับคู่แข่ง นั่นคือสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้หรือไม่ และอยู่ในลำดับใดเมื่อเทียบกับองค์กรที่เป็นเลิศ ที่สำคัญคือองค์กรที่เก่งกว่าเราเขาทำอย่างไร และเราจะสามารถทำให้ดีกว่าเขาได้อย่างไรBenchmarking ช่วยให้เราตอบคำถามต่อไปนี้
ก่อนอื่น ควรทำความเข้าใจความหมายของ “Benchmarks” “Best practices” และ “Benchmarking” ว่าแตกต่างกันอย่างไร
Benchmark หมายถึง เกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะ ในบริบทของธุรกิจจริงๆ แล้วหมายถึง “Best-in-class performance” คือ Performance ขององค์กรที่เก่งที่สุดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นแบบที่องค์กรอื่นใช้วัดเพื่อเปรียบเทียบความสามารถหรือสมรรถนะของตนเอง ในทางกีฬา Benchmark ก็คือสถิติโลกนั่นเองเช่น ถ้าเราเป็นนักวิ่ง 100 เมตร และต้องการเป็นแชมป์โลก ก็ต้องทราบว่าสถิติโลกวิ่ง 100 เมตรคือเป็น 9.58 วินาที ดังนั้น Benchmark (ความเร็วที่เราต้องทำให้ได้จึงจะเทียบเท่าแชมป์โลก) คือ 9.58 วินาที อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติผู้ที่เป็น Benchmark ของเราอาจไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่เก่งที่สุดในโลกก็ได้ ขึ้นกับเป้าหมายของเราว่าต้องการเปรียบเทียบตนเองในระดับใดและต้องการไปถึงระดับใด (ถ้าเป็นองค์กรก็จะขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ขององค์กร) ถ้าเรายังไม่เก่งมากอาจเปรียบเทียบในระดับประเทศก่อน แล้วค่อยๆ ขึ้นไปจนถึงระดับโลกเมื่อเราเก่งขึ้น
ที่สำคัญ Benchmark มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยเขยิบดีขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับกีฬาที่มีการทำลายสถิติโลกตลอดเวลา
Best practices หมายถึงวิธีปฏิบัติ (Practices) ที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรืออาจกล่าวได้ว่าคือ Practices ที่ทำให้องค์กรมีความเป็นเลิศ หรือ Best-in-class performance เทียบได้กับ practices ของนักกีฬาที่เป็นเจ้าของสถิติโลก นั่นเอง
เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นอะไรเป็น Best Practice ผู้เขียนขออ้างถึงคำพูดของ Dr.Robert C.Camp ผู้ที่ทำให้ Benchmarking เป็นที่รู้จักและมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกดังนี้
“คำว่า Best Practice ไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว เพราะแต่ละองค์กรมีบริบทที่ความแตกต่างกัน (เช่น พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยี) ดังนั้นคำว่า “Best practice” จึงหมายถึง Practice ที่ให้ผลลัพธ์ที่โดดเด่น หรือเป็นที่ยอมรับ (ในวงการนั้นๆ) หรือพิสูจน์ได้ว่าทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีหรือโดดเด่นจริง องค์กรจึงควรนำ Best practice ที่ได้จากองค์กรอื่นมาปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทของตนเอง”
ส่วน Benchmarking นั้นเป็นกระบวนการในการเทียบเคียง (หรือเปรียบเทียบ) ผลิตภัณฑ์ บริการ และ วิธีปฏิบัติ (Practices) กับองค์กรที่ทำได้ดีกว่า (หรือองค์กรที่เป็นเลิศ) เพื่อนำผลการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และไปสู่ความเป็นเลิศได้ โดยการทำ Benchmarking ต้องมีความต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะ Benchmark ที่เป็นเป้าหมายของเราจะเขยิบดีขึ้นเรื่อยๆ
อีกนัยหนึ่ง Benchmarking เป็นกระบวนการในการเสาะหา Benchmark เพื่อให้ได้มาซึ่ง Best practices ที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงองค์กรของเราเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ตลอดเวลา หรือไปสู่ความเป็นเลิศ (ขึ้นกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร)
Benchmarking ไม่ใช่แค่การวิเคราะห์คู่แข่ง การเยี่ยมชมดูงาน การลอกเลียนแบบหรือการสืบความลับของคู่แข่ง เพราะ Benchmarking เป็นกระบวนการเรียนรู้ Practices ขององค์กรอื่นที่ทำอย่างเปิดเผย เป็นระบบและมีวัตถุประสงค์ชัดเจน และทำแบบมีกติกาที่ทั้งผู้ให้และผู้รับยอมรับ หรือที่เรียกว่า จรรยาบรรณของการทำ Benchmarking (Benchmarking Code of Conduct)
Benchmarking แบ่งได้หลายประเภท ขึ้นกับว่าเอาอะไรไปเปรียบเทียบ ถ้าแบ่งตามชนิดขององค์กรที่เราไปเปรียบเทียบด้วยจะมี 4 ประเภทได้แก่
Benchmarking แต่ละประเภทมีจุดเด่นแตกต่างกันขึ้น องค์กรจึงควรเลือกใช้ให้ตรงตามบริบทและความต้องการ
ถ้าแบ่งตามวัตถุประสงค์หรือสิ่งที่เราทำ Benchmarking จะมี 4 ประเภทคือ
ตัวอย่าง Process benchmarking แบบข้ามห้วย
องค์กรสามารถเลือกทำ Benchmarking ได้มากกว่า 1 ประเภทในเวลาเดียวกัน และสามารถเลือกใช้ประเภทใดก็ได้ขึ้นกับความต้องการและความพร้อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่าย
Benchmarking เป็นเครื่องมือการปรับปรุงองค์กรที่ติดอันดับ Top 5 ที่ผู้บริหารทั่วโลกนิยมใช้มากว่า 20 ปี6 เนื่องจากเหตุผลหลักต่อไปนี้
องค์กรส่วนใหญ่มีการทำ Benchmarking อยู่บ้างแล้วแต่อาจยังไม่ได้ทำอย่างครบเครื่องและเป็นระบบ จึงยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือนี้อย่างเต็มที่ การทำ Benchmarking ที่มีประสิทธิผล ควรมีขั้นตอนที่ชัดเจนซึ่งผู้เขียนจะได้นำเสนอในบทความต่อไป
เอกสารอ้างอิง:1. Robert C. Camp, Business Process Benchmarking, ASQC Quality Press, 19952. Benchmarking Code of Conduct, APQC, 20203. EFQM – The European Benchmarking Code of Conduct, 20094. Johanna Macneil, et. al., Benchmarking Australia, Longman Business & Professional, 19945. Cross-industry benchmarking, The Economic Times, 3 August 20076. Management Tools & Trends Survey, Bain & Company, 2018
Trust in TRISคณะกรรมการบริษัทกรรมการผู้จัดการคณะผู้บริหารและที่ปรึกษาแผนผังองค์กรมาตรฐานเครือข่ายและพันธมิตร
ที่ปรึกษาพัฒนาองค์กรวิจัยและสำรวจข้อมูลฝึกอบรม พัฒนาสมรรถนะประเมินผลการดำเนินงาน
ข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวกิจกรรม
บทความสื่อภาพสื่อวีดีโอ
ร่วมงานกับเราติดต่อเรา