CLOSE

การจัดการความรู้

KNOWLEDGE MANAGEMENT

        คือกระบวนการอย่างเป็นระบบในการจัดการ ส่งต่อ และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศหรือความรู้ระหว่างบุคลากรที่เกี่ยวข้องในเวลาที่ต้องการ (ด้วยรูปแบบและต้นทุนที่เหมาะสม) ส่งผลให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงขึ้น สนับสนุนการเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรได้

          KM is a collection of systematic approaches to help information and knowledge flow to and between the right people at the right time (in the right format at the right cost) so they can act more efficiently and effectively to create value for the organization. (APQC)

ซึ่งกระบวนการจัดการความรู้องค์กรของทริส จะประกอบไปด้วย

เป็นการระบุถึงองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ/กระบวนงาน โดยวิเคราะห์จากข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสรุปประเด็นความรู้สำคัญ เพื่อนำไปสู่การแสวงหาและรวบรวมให้เป็นระเบียบ สนับสนุนต่อการนำไปใช้งาน โดยการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ จะเป็นการค้นคว้าและพัฒนาองค์ความรู้ขึ้นเอง การเรียนรู้จากประสบการณ์ การริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมทั้งการได้มาจากแหล่งความรู้ภายนอก ไม่ว่าจะเป็นบุคคล เอกสารสิ่งพิมพ์ หรือแหล่งข้อมูลออนไลน์ เป็นต้น

เป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้มีการรวบรวมและจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบนั้น ไปประยุกต์ใช้งานตามความเหมาะสม เพื่อสนับสนุกสนุนการปฏิบัติหน้าที่และบริหารโครงการ/กระบวนงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการประยุกต์ใช้ความรู้ จะเป็นการนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานและ/หรือการตัดสินใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจขององค์กร

เป็นการเก็บรักษาความรู้เพื่อให้บุคลากรที่ต้องการใช้ความรู้นั้น สามารถเข้าถึงองค์ความรู้นั้นได้ในอนาคต โดยการเก็บรักษาความรู้นั้น ยังรวมถึงการพัฒนาปรับปรุงองค์ความรู้ให้ทันสมัยตามสภาพแวดล้อมการดำเนินงานที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งดำเนินการเพื่อให้องค์ความรู้เหล่านั้นยังคงหรือเพิ่มประสิทธิภาพต่อการประยุกต์ใช้งานในภายหน้า โดยการเก็บรักษาความรู้ จะเป็นการถอดความรู้จากประสบการณ์ของบุคลากรสำคัญ เป็นเอกสารข้อมูลความรู้ที่สามารถถ่ายทอดต่อได้ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการจัดการกับความรู้ที่ล้าสมัยหรือไม่ได้ใช้งานที่จะเป็นการดำเนินการละทิ้งความรู้ที่ไม่ทันสมัยหรือไม่เหมาะสมออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้บุคลากรนำความรู้เหล่านั้นไปใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานหรือตัดสินใจ ซึ่งทำให้องค์กรเสียหายได้อีกด้วย

เป็นการดำเนินการทบทวนหลังการปฏิบัติงานหรือ After Action Review ร่วมกันระหว่างบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานและอาจรวมทั้งหัวหน้างาน ผู้บริหาร เพื่อเรียนรู้และพัฒนาปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาปรับปรุงองค์ความรู้ให้มีคุณค่าและประสิทธิภาพต่อการนำไปประยุกต์ใช้งานมากขึ้น นอกจากนั้นข้อมูล สารสนเทศ และ/หรือความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนั้น ยังเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนบทเรียนการดำเนินการโครงการ ที่จะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการจัดการความรู้ ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามสายงานและกับกลุ่มผู้บริหาร สนับสนุนกระบวนการวางแผนกลยุทธ์องค์กรอีกทางหนึ่งด้วย

ด้วยการที่ ทริส คอร์ปอเรชั่น อยู่ในธุรกิจที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กร ได้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบการจัดการความรู้องค์กรหรือ Knowledge Management System อย่างต่อเนื่องภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 30401 มาดำเนินการและประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางธุรกิจ

ทริสได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 30401 : 2018 โดย The British Standards Institution จากหน่วยรับรอง (Certification Body: CB) บริษัท BSI เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ซึ่งใบรับรองมาตรฐานมีอายุ 3 ปี ครอบคลุมการให้บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการองค์กร การวิจัยและสำรวจข้อมูล การพัฒนาสมรรถนะ และการประเมินประสิทธิผลขององค์กร (Providing of Organizational Management Consulting, Research & Survey, Competency Enhancement, and Performance Evaluation Services.) Certificate Number: KM 850002

ทริสได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการความรู้ ISO 30401 ทั่วทั้งองค์กร โดยยังคงมุ่งมั่นดำเนินการและพัฒนาการจัดการความรู้องค์กรบนพื้นฐานของ 8 หลักการ (Guiding Principles) ตามมาตรฐาน อันได้แก่ Tris-km

ทั้งนี้ในปี 2567 ทริสได้กำหนดนโยบายการจัดการความรู้องค์กร (TRIS KM POLICY 2024) ใหม่ ได้แก่

"The culture of active knowledge sharing and relentless reinvention itself is vital for organizations to critically maintain knowledge competitiveness. These core values are intricately architected into the TRIS KM System, subtly propelling the very essence of our organizational success."

โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และกลยุทธ์การจัดการความรู้ ดังนี้

วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ (KM Vision)

To be “The Knowledge-creating Company”

มุ่งสู่องค์กรสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันขององค์กร

เป้าประสงค์การจัดการความรู้ (KM Objectives)

1) Key Knowledge Sharing Actively การแลกเปลี่ยนแบ่งปันในองค์ความรู้สำคัญ

2) Improve & Innovate Continuously การพัฒนาปรับปรุงและสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์การจัดการความรู้ (KM Strategy)

กลยุทธ์ที่ 1 WORKING KNOWLEDGE การจัดการองค์ความรู้สำคัญของฝ่ายงาน

กลยุทธ์ที่ 2 WORK IMPROVEMENT การพัฒนาปรับปรุงงานของฝ่ายงาน

กลยุทธ์ที่ 3 KNOWLEDGE TO INNOVATION การจัดการองค์ความรู้สำคัญขององค์กร

กลยุทธ์ที่ 4 EFFECTIVE KM SYSTEM การพัฒนาระบบการจัดการความรู้องค์กรและเสริมสร้างค่านิยมที่สนับสนุน

ทริสขับเคลื่อนการจัดการความรู้องค์กรอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาทบทวนองค์ประกอบของปัจจัยสนับสนุนต่อการจัดการความรู้อ้างอิงตามโมเดลการจัดการความรู้องค์กรของทริสหรือ TRIS Organizational Knowledge Management, OKM Model ซึ่งประกอบไปด้วย
  • การนำองค์กร (Leadership) คือ การนำการจัดการความรู้มาใช้เพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ เป้าหมาย หรือกลยุทธ์ขององค์กร โดยผู้บริหารกำหนดทิศทางและเป้าหมายของการจัดการความรู้ สร้างการมีส่วนร่วมองบุคลากรและวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  • การวางแผนและทรัพยากรสนับสนุน (Planning & Resources) คือ การนำกลยุทธ์การจัดการความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและบรรลุผลสำเร็จ โดยจัดสรรทรัพยากรและใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการดำเนินงาน รวมทั้งการติดตามและประเมินผล
  • บุคลากร (People) คือ การทำให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน รวมทั้งกระตุ้น และส่งเสริมให้บุคลากรมีพฤติกรรมที่นำไปสู่วัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการจัดการความรู้
  • กระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) คือ กระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ โดยใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ/ความรู้จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้
  • กระบวนการปฏิบัติงาน (Operational Process) คือ การนำการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ รวมทั้งความตระหนักถึงความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในกระบวนการที่สำคัญ
  • ผลลัพธ์ของการจัดการความรู้ (KM Results) คือ ผลการดำเนินการด้านต่าง ๆ ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องหรือเกิดจากการจัดการความรู้ที่องค์กรดำเนินการ ได้แก่ผลการดำเนินการด้านต่างๆ (ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) ที่เกี่ยวข้องหรือเกิดจากการจัดการความรู้
ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ trisacademy@tris.co.th
© 2024 TRIS Corporation Limited
cross