PDPA & Data Governance Awareness Transforming Security and Privacy Risks into Asset through Data Governance การกำกับดูแลข้อมูลสอดคล้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) การกำกับดูแลข้อมูล การบริหารความเสี่ยง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
พระราชบัญญัติคุ้มครองขอมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act B.E. 2562 : PDPA) ถูกออกแบบมาด้วยหลักการและเหตุผลเช่นเดียวกับกฎหมายสากลหลายฉบับอย่าง กฎหมาย GDPR ของสหภาพยุโรป และกฎหมาย CCPA ของสหรัฐอเมริกาที่มุ่งคุ้มครองและรักษาสิทธิในความเป็นส่วนตัวทางข้อมูลของบุคคลอย่างแท้จริง
องค์กรทั่วโลกทั้งภาครัฐและเอกชนที่เก็บข้อมูลของคนไทย ไม่สามารถทำเพิกเฉยได้ ทุกองค์กรต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้ซึ่งมีบทลงโทษที่ชัดเจนต่อความผิดในการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล ถึงแม้การกำหนดโทษทางกฎหมายอาจจะไม่รุนแรง แต่สิ่งที่เสียหายเป็นอย่างยิ่ง คือความเชื่อมั่นของลูกค้า และมูลค่าของทรัพย์สินข้อมูล ซึ่งไม่อาจประเมินเป็นมูลค่าได้ง่ายนัก
การพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารองค์กรในการกำกับดูแลสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยงภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์กร เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำองค์กรต้องตระหนักรู้ เข้าใจ และดำเนินการเตรียมพร้อมทั้งในด้านการจัดการและกระบวนการให้สอดคล้องกับกฎหมายนี้
เนื้อหาหลักสูตร
ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิเจ้าของข้อมูล: ภาระหน้าที่ และความเชื่อมั่น
แนวโน้มการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ภาระรับผิดชอบ และความโปร่งใส) และกรณีศึกษา
หลักการสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (บทบาท การละเมิด และการรับผิด) GDPR และ CCPA
บทบาทของผู้บริหารต่อการกำกับดูแลข้อมูลขององค์กรให้สอดคล้องตามกฎหมาย PDPA
ประโยชน์ที่องค์กรได้รับ
สร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ ถึงพัฒนาการของการปกป้องสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล และการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่จำเป็นในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่สินทรัพย์ด้านข้อมูล
แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามการบังคับใช้กฎหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กร ให้ถูกต้องและเพิ่มศักยภาพในการใช้ข้อมูลขององค์กร ทั้งในแง่ประสิทธิภาพ และการวิเคราะห์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
การสร้างความเชื่อมั่นในการปกป้องข้อมูลขององค์กร ต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
คณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร
ผู้บริหารในทุกระดับขององค์กร
ผู้ปฏิบัติงานด้านธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยงขององค์กร
ผู้ปฏิบัติงานข้อมูลขององค์กร
วิทยากร ดร.ชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ ที่ปรึกษา TRIS Digital Academy ประธานผู้ก่อตั้ง know-edge.org Ph.D. in Good Governance Development Leader with Practical Experiences in Good Governance/Digital Transformation and Innovation
Date/Time: วันที่ 18 กันยายน 2563 เวลา 09.00–16.00 น. Venue: โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส (MBK Center) Course Fee: 12,000.00 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7%) (International Buffet) Promotion 9.9 รับส่วนลด 20% จนถึงวันที่ 9 กันยายนนี้
Contact:
คุณปวัณยา ศรีชุมพล Phone : 02-032-3000 ext. 8234 Mobile : 062-1405-465 E-mail : pawanyas@tris.co.thคุณพลอยณิชชา T: 02-032-3000 ต่อ 8401 M: 098-465-4429 E: trisacademy@tris.co.th
สถาบันฯ ให้ความสำคัญ และเฝ้าระวังกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเป็นสำคัญ ด้วยมาตรการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเข้มข้น ทั้งบุคลากรและสถานที่จัดฝึกอบรมเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม รวมทั้งการรักษาระยะห่าง (Distancing) ตามมาตรการด้านสาธารณสุข อย่างเต็มที่